คนญี่ปุ่นผู้ไม่เคยปฏิเสธ เขาเต็มใจจริงหรือ? หรือแค่ฉากหน้า?



มีบทความที่น่าสนใจที่กล่าวถึงความรู้สึกของชาวต่างชาติที่สงสัยว่าทำไมชาวญี่ปุ่นจึงไม่ตอบปฏิเสธ ซึ่งทางผู้เขียนได้เล่าว่า เพื่อนของเขาเป็นชาวแคนนาดาได้มาเล่าถึงความรู้สึกว่าเขาเริ่ม

 เขารู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น เพราะ เมื่อชวนชาวญี่ปุ่นไปเที่ยวหรือทำกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ในตอนแรกชาวญี่ปุ่นตอบตกลง แต่พอถามใหม่อีกรอบกลับโดนตอบปฏิเสธกลับมา ซึ่งเขารู้สึกว่าถ้าไม่สะดวกที่จะไปทำไมไม่ปฏิเสธตั้งแต่ครั้งแรกที่ถาม

 คำถามที่ว่าทำไมญี่ปุ่นจึงเป็นสังคมที่ไม่ตอบปฎิเสธนั้น ก็ตอบได้ว่ามันคือวัฒนธรรมที่ถูกปลูกฝั่งกันมาตั้งแต่สมัยก่อน และแน่นอนว่าคนญี่ปุ่นไม่ได้เป็นเหมือนกันหมด แล้วถ้าหากมองในอีกมุมหนึ่งว่าทำไมคนญี่ปุ่นจึงไม่ตอบปฏิเสธออกไปตั้งแต่ครั้งแรกที่ถูกถามนั้น อาจจะมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

อาจจะเป็นเพราะนิยามของคำว่ามารยาทแตกต่างกัน




สิ่งที่น่าสนใจในการที่ผู้เขียนสนทนากับเพื่อนชาวแคนาดาก็คือ สาเหตุที่ชาวญี่ปุ่นไม่พูดปฎิเสธ ดังนั้นสิ่งแรกที่ชาวต่างชาติเองก็ควรที่จะทำความเข้าใจไว้ นั้นก็คือวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นว่าเป็นอย่างไร จะได้ไม่เกิดการวิพากษณ์วิจารณ์ เกิดความเข้าใจผิดซึ่งกันและกัน

นิยามคำว่ามารยาทของชาวต่างชาติกับคนญี่ปุ่นแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน

เพราะชาวญี่ปุ่นมักจะเป็นห่วงความรู้สึกของคนอื่น มักจะคิดว่าการพูดปฎิเสธเป็นการขัดใจผู้ถาม ทั้งๆที่ไม่ว่าคนญี่ปุ่นจะตอบตกลงหรือปฎิเสธ ก็ดีกว่าการตอบปฎิเสธในภายหลัง ทำให้ชาวต่างชาติหรือคนอื่นสับสนกับคำตอบ หากคนญี่ปุ่นใช้วิธีการสื่อสารแบบนี้บ่อยๆคู่สนทนาหรือคนรอบข้างอาจจะเกิดความไม่ไว้วางใจถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะคำพูดเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับชาวต่างชาติ การไม่ยอมปฏิเสธ

 

 อีกฝ่ายอาจจะพูดที่เร็วเกินไป!


ในกรณีที่ระดับการพูดของอีกฝ่ายอาจจะเร็วเกินไป จนคู่สนทนาฟังไม่ทันหรือตีความสิ่งที่ได้ยินไม่ได้ จึงตอบออกก่อนไปว่าตกลง ( ผู้เขียนกล่าวว่า แม้เขาจะเป็นคนญี่ปุ่นแท้ ๆ ก็ยังคิดว่าเพื่อนเขาพูดเร็ว )

ผู้เขียนได้กล่าวว่า เขาจำได้ว่าเคยได้ยินเรื่องแบบนี้มานานแล้วเหมือนกัน ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในครั้งนี้



ดังนั้นหากคุณไม่ทราบว่าอีกฝ่ายกำลังพูดหรือถามอะไรอย่าเพิ่งตอบ “ตกลง” ให้ถามซ้ำอีกรอบว่า “พูดอีกรอบได้ไหมค่ะ เมื่อสักครู่ไม่ได้ยิน?”  “มีอะไรหรือเปล่าค่ะ?” 

ผู้เขียนเล่าว่า ในบางครั้งเขาก็ยังไม่ชินกับภาษาอังกฤษ แต่เขาใช้วิธีแก้ไขข้อบกพร่องนี้ให้ดีขึ้นด้วยการถามซ้ำบ่อยๆเพื่อที่จะได้ฟังให้เข้าใจ

 

ขอบคุณบทความจาก : www.tabi-labo.com