ในประเทศที่ยึดถือเรื่องมารยาทเป็นสำคัญอย่างประเทศญี่ปุ่นนั้น แน่นอนว่าจะต้องมีการรักษามารยาทในการใช้รถไฟอยู่มากมาย ล่าสุด Air Trip หนึ่งในผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวต่างๆ ของญี่ปุ่น ได้จัดทำผลสำรวจคนญี่ปุ่นด้วยคำถามที่ว่า “พฤติกรรมไหนที่คุณคิดว่าเสียมารยาทในการโดยสารรถไฟหรือขนส่งสาธารณะ” จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 930 คน ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า “15 พฤติกรรมที่ถือว่าเสียมารยาท ในการขึ้นรถไฟที่ญี่ปุ่น” มีดังนี้
ในช่วงเวลาเร่งด่วนที่รถไฟหนาแน่นไปด้วยผู้คน แล้วอ่านหนังสือไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกางหนังสือพิมพ์อ่านโดยไม่พับ ถือเป็นการเสียมารยาทมากๆ เพราะเหมือนกับเป็นการบุกรุกพื้นที่ส่วนตัวของบุคคลอื่นที่ยืนห่างออกไปเพียงแค่ไหล่ชนไหล่กันเท่านั้น
ในแบบสำรวจนี้ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซ็นเพียงเท่านั้น อย่างที่เราทราบกันว่าในรถไฟชินคันเซ็น ผู้โดยสารสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ (ถึงขั้นมีจำหน่ายในรถไฟเลยทีเดียว) แต่ว่ารถไฟประเภทอื่นที่ไม่ใช่ชินคันเซ็น อย่างรถไฟระยะใกล้ รถไฟในเมือง ก็ควรรักษามารยาทข้อนี้เอาไว้ รอจนกว่าคุณจะลงจากรถไฟแล้วค่อยดื่มมันก็ได้นะ
ถึงแม้ว่ารถไฟที่ญี่ปุ่นที่วิ่งออกนอกเมือง ระยะไกลจะไม่ได้ห้ามทานอาหารบนรถไฟ และมีการจำหน่ายเบนโตะหรือเครื่องดื่มภายในขานชาลาสถานีด้วยซ้ำ แต่ว่าถ้าหากเป็นรถไฟใต้ดิน หรือรถไฟที่วิ่งในตัวเมืองอย่างโตเกียว ผู้โดยสารส่วนใหญ่ก็ลงความเห็นว่าอยากให้คุณจำกัดการทานอาหารบนรถไฟสักหน่อยเถอะ แต่ถ้าเป็นขนมเล็กๆ คำสองคำก็ยังพอไหวอยู่
คนญี่ปุ่นไม่ได้ใส่ใจกับน้ำหอมที่คุณใช้มากนักหรอก และพวกเขากลับเกลียดมันขึ้นเป็นสองเท่าในพื้นที่ร่วมกันและปิดแบบในรถไฟฟ้าเช่นนี้ ยังไงก็ควรระวังว่ากลิ่นน้ำหอมที่คุณใช้จะไปกระทบคนรอบข้างนะ
หลายคนที่ไปญี่ปุ่นอาจจะเคยเห็นว่าตามสถานีรถไฟไม่ค่อยมีถังขยะ บางที่ถึงกับไม่มีเลยด้วยซ้ำ แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่คุณจะทิ้งขยะไว้ตามรถไฟนะ ยังไงก็ตามถ้าหาที่ทิ้งขยะไม่ได้ ก็เก็บใส่กระเป๋าไว้แล้วค่อยมาทิ้งที่ห้องพักหรือเก็บไว้จนกว่าจะเจอถังขยะที่ด้านนอกก็ได้จ้า
พฤติกรรมเมา ในที่นี้หมายถึง เมาแล้วใช้พื้นที่นั่งบนรถไฟแบบระรานคนอื่น ทะเลาะกันบนรถไฟ หรือส่งกลิ่นเหล้าเหม็นหึ่งรบกวนผู้โดยสารคนอื่นบนรถไฟ ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ทางที่ดีควรรอจนกว่าจะสร่างเมา ได้สติขึ้นมาสักหน่อย ก่อนแล้วค่อยขึ้นรถไฟเดินทางกลับดีกว่านะ
อย่างที่ทราบกันดีว่าที่ญี่ปุ่นรถไฟมีตารางเวลาที่มาชัดเจน จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะรู้ตัวเองว่าเวลาไหนควรจะมารอรถไฟที่ชานชาลาได้แล้ว ถ้าหากมาถึงจวนเจียนเวลาที่รถไฟกำลังจะออกตัว ประตูรถก็เตรียมตัวปิดแล้ว ก็อย่าพุ่งตัวเข้าไปจนอาจจะกระแทกผู้โดยสารที่อยู่ในตัวรถกันนะ ควรรอขึ้นรถไฟรอบถัดไปดีกว่า
ข้อนี้คล้ายๆ กับข้อ 15 แต่ว่าสมัยนี้ก็มีคนใช้โทรศัพท์มือถือในรถไฟกันเยอะมากขึ้น ในขณะที่คนเบียดเสียดแน่นบนรถไฟ ก็ไม่มีใครอยากให้หลังหรืออกของตนถูกใช้เป็นที่วางโทรศัพท์มือถือของคนอื่นหรอกนะ
การแต่งหน้าบนรถไฟถือเป็นเรื่องเสียมารยาทอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการรบกวนทางสายตา อาจสร้างความรู้สึกอึดอัดให้กับคนที่นั่งข้างๆ คนที่กำลังแต่งหน้าอยู่ได้ รวมถึงอาจทำให้ฝุ่นผงที่มาจากเครื่องสำอางปลิวตกมายังคนที่นั่งข้างๆ ในรถไฟได้
ข้อนี้ต่างจากข้อ 9 แต่เป็นลักษณะการดันผู้โดยสารคนอื่น เพื่อที่จะเดินไปยังฝั่งตรงข้าม เพื่อที่จะเข้าหรือออกจากรถไฟ
บางครั้งเวลาใส่หูฟังหรือเฮดโฟน คุณอาจจะคิดว่าคุณได้ยินเสียงเพียงคนเดียว จนอาจจะเผลอเปิดเสียงดังเกินไป เสียงอาจจะเล็ดลอดให้คนรอบข้างได้ยินนะ
ไม่ว่าจะถือสัมภาระในมือทั้งสองข้าง ไว้ข้างหน้า หรือแบกกระเป๋าไว้ด้านหลัง อาจจะสร้างการรบกวนต่อคนรอบข้างในรถไฟได้ เพราะฉะนั้นคุณควรระมัดระวังการถือสัมภาระด้วย หากสัมภาระชิ้นใหญ่หรือเป้สะพายหลังก็ควรวางไว้ที่วางของเหนือที่นั่งจะดีกว่า
ตามปกติที่ญี่ปุ่นจะไม่ค่อยเห็นใครโทรศัพท์เสียงดังภายในรถไฟ สำหรับรถไฟออกนอกเมืองหรือระยะไกล ถ้าต้องการคุยโทรศัพท์จริงๆ เขาจะเดินออกมาตรงส่วนหัวหรือท้ายขบวนเพื่อโทรศัพท์ จะได้ไม่เป็นการรบกวนคนอื่น
เช่นเดียวกับข้อที่ 3 การพูดคุยกันเสียงดังในรถไฟก็อาจสร้างความรบกวนให้กับผู้อื่นได้
ข้อนี้เป็นข้อที่มีคนลงความเห็นว่าเป็นการเสียมารยาทที่สุดในการใช้รถไฟที่ญี่ปุ่น นั่นก็คือการที่คนข้างๆ ใช้พื้นที่นั่งเยอะเกินไปในพื้นที่ของตัวเอง บางคนก็นั่งยืดขา วางของเกะกะคนข้างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เก้าอี้ในรถไฟ ไม่ว่าจะเป็นที่นั่งแบบนั่งคู่หรือที่นั่งแถวยาว ก็ไม่ได้มีพื้นที่กว้างพอที่จะให้นั่งแบบนั้นนะจ๊ะ
อย่างไรก็ตาม หากคุณใช้บริการรถไฟที่ญี่ปุ่น ก็ควรจะจำคำว่า “ซุมิมาเซ็น (Sumimasen) เอาไว้พูดกับคนญี่ปุ่น (คล้ายๆ กับคำว่า Excuse me ในภาษาอังกฤษ) เวลาที่ต้องการขอโทษผู้อื่น หากเราทำอะไรเป็นการรบกวนเขา เช่น พูดตอนขอให้คนอื่นหลีกทางให้หน่อย พูดตอนเราเอากระเป๋าไปโดนคนอื่น หรือไว้เรียกคนอื่น ตอนที่เราต้องการขอความช่วยเหลือจากเขาก็ได้เหมือนกัน
ขอบคุณที่มา soranews24.com
ขอบคุณภาพจาก freepik.com, photo-ac.com
15. อ่านหนังสือพิมพ์ในขณะที่รถเต็มไปด้วยผู้โดยสารหนาแน่น (ร้อยละ 10.9)
ในช่วงเวลาเร่งด่วนที่รถไฟหนาแน่นไปด้วยผู้คน แล้วอ่านหนังสือไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกางหนังสือพิมพ์อ่านโดยไม่พับ ถือเป็นการเสียมารยาทมากๆ เพราะเหมือนกับเป็นการบุกรุกพื้นที่ส่วนตัวของบุคคลอื่นที่ยืนห่างออกไปเพียงแค่ไหล่ชนไหล่กันเท่านั้น
14. ดื่มเบียร์ / เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 20)
ในแบบสำรวจนี้ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซ็นเพียงเท่านั้น อย่างที่เราทราบกันว่าในรถไฟชินคันเซ็น ผู้โดยสารสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ (ถึงขั้นมีจำหน่ายในรถไฟเลยทีเดียว) แต่ว่ารถไฟประเภทอื่นที่ไม่ใช่ชินคันเซ็น อย่างรถไฟระยะใกล้ รถไฟในเมือง ก็ควรรักษามารยาทข้อนี้เอาไว้ รอจนกว่าคุณจะลงจากรถไฟแล้วค่อยดื่มมันก็ได้นะ
13. ทานอาหารบนรถไฟ (ร้อยละ 26.3)
ถึงแม้ว่ารถไฟที่ญี่ปุ่นที่วิ่งออกนอกเมือง ระยะไกลจะไม่ได้ห้ามทานอาหารบนรถไฟ และมีการจำหน่ายเบนโตะหรือเครื่องดื่มภายในขานชาลาสถานีด้วยซ้ำ แต่ว่าถ้าหากเป็นรถไฟใต้ดิน หรือรถไฟที่วิ่งในตัวเมืองอย่างโตเกียว ผู้โดยสารส่วนใหญ่ก็ลงความเห็นว่าอยากให้คุณจำกัดการทานอาหารบนรถไฟสักหน่อยเถอะ แต่ถ้าเป็นขนมเล็กๆ คำสองคำก็ยังพอไหวอยู่
12. ใส่น้ำหอมกลิ่นแรง (ร้อยละ 27.6)
คนญี่ปุ่นไม่ได้ใส่ใจกับน้ำหอมที่คุณใช้มากนักหรอก และพวกเขากลับเกลียดมันขึ้นเป็นสองเท่าในพื้นที่ร่วมกันและปิดแบบในรถไฟฟ้าเช่นนี้ ยังไงก็ควรระวังว่ากลิ่นน้ำหอมที่คุณใช้จะไปกระทบคนรอบข้างนะ
11. ทิ้งขยะในรถไฟ (ร้อยละ 18.2)
หลายคนที่ไปญี่ปุ่นอาจจะเคยเห็นว่าตามสถานีรถไฟไม่ค่อยมีถังขยะ บางที่ถึงกับไม่มีเลยด้วยซ้ำ แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่คุณจะทิ้งขยะไว้ตามรถไฟนะ ยังไงก็ตามถ้าหาที่ทิ้งขยะไม่ได้ ก็เก็บใส่กระเป๋าไว้แล้วค่อยมาทิ้งที่ห้องพักหรือเก็บไว้จนกว่าจะเจอถังขยะที่ด้านนอกก็ได้จ้า
10. เมาขึ้นรถไฟ (ร้อยละ 31.7)
พฤติกรรมเมา ในที่นี้หมายถึง เมาแล้วใช้พื้นที่นั่งบนรถไฟแบบระรานคนอื่น ทะเลาะกันบนรถไฟ หรือส่งกลิ่นเหล้าเหม็นหึ่งรบกวนผู้โดยสารคนอื่นบนรถไฟ ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ทางที่ดีควรรอจนกว่าจะสร่างเมา ได้สติขึ้นมาสักหน่อย ก่อนแล้วค่อยขึ้นรถไฟเดินทางกลับดีกว่านะ
9. พยายามพุ่งตัวอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะเข้ารถไฟให้ได้ (ร้อยละ 32.2)
อย่างที่ทราบกันดีว่าที่ญี่ปุ่นรถไฟมีตารางเวลาที่มาชัดเจน จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะรู้ตัวเองว่าเวลาไหนควรจะมารอรถไฟที่ชานชาลาได้แล้ว ถ้าหากมาถึงจวนเจียนเวลาที่รถไฟกำลังจะออกตัว ประตูรถก็เตรียมตัวปิดแล้ว ก็อย่าพุ่งตัวเข้าไปจนอาจจะกระแทกผู้โดยสารที่อยู่ในตัวรถกันนะ ควรรอขึ้นรถไฟรอบถัดไปดีกว่า
8. ใช้โทรศัพท์มือถือท่ามกลางคนแน่นๆ ในรถไฟ (ร้อยละ 36.3)
ข้อนี้คล้ายๆ กับข้อ 15 แต่ว่าสมัยนี้ก็มีคนใช้โทรศัพท์มือถือในรถไฟกันเยอะมากขึ้น ในขณะที่คนเบียดเสียดแน่นบนรถไฟ ก็ไม่มีใครอยากให้หลังหรืออกของตนถูกใช้เป็นที่วางโทรศัพท์มือถือของคนอื่นหรอกนะ
7. แต่งหน้าในรถไฟ (ร้อยละ 40.5)
การแต่งหน้าบนรถไฟถือเป็นเรื่องเสียมารยาทอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการรบกวนทางสายตา อาจสร้างความรู้สึกอึดอัดให้กับคนที่นั่งข้างๆ คนที่กำลังแต่งหน้าอยู่ได้ รวมถึงอาจทำให้ฝุ่นผงที่มาจากเครื่องสำอางปลิวตกมายังคนที่นั่งข้างๆ ในรถไฟได้
6. ขึ้นและลงรถไฟอย่างเสียมารยาท (ร้อยละ 42.4)
ข้อนี้ต่างจากข้อ 9 แต่เป็นลักษณะการดันผู้โดยสารคนอื่น เพื่อที่จะเดินไปยังฝั่งตรงข้าม เพื่อที่จะเข้าหรือออกจากรถไฟ
5. ใช้หูฟัง/เฮดโฟนแล้วแต่เปิดเสียงดังเกินไป (ร้อยละ 54)
บางครั้งเวลาใส่หูฟังหรือเฮดโฟน คุณอาจจะคิดว่าคุณได้ยินเสียงเพียงคนเดียว จนอาจจะเผลอเปิดเสียงดังเกินไป เสียงอาจจะเล็ดลอดให้คนรอบข้างได้ยินนะ
4. ถือสัมภาระแบบไม่สุภาพ (ร้อยละ 54.1)
ไม่ว่าจะถือสัมภาระในมือทั้งสองข้าง ไว้ข้างหน้า หรือแบกกระเป๋าไว้ด้านหลัง อาจจะสร้างการรบกวนต่อคนรอบข้างในรถไฟได้ เพราะฉะนั้นคุณควรระมัดระวังการถือสัมภาระด้วย หากสัมภาระชิ้นใหญ่หรือเป้สะพายหลังก็ควรวางไว้ที่วางของเหนือที่นั่งจะดีกว่า
3. คุยโทรศัพท์ในรถไฟ (ร้อยละ 56.3)
ตามปกติที่ญี่ปุ่นจะไม่ค่อยเห็นใครโทรศัพท์เสียงดังภายในรถไฟ สำหรับรถไฟออกนอกเมืองหรือระยะไกล ถ้าต้องการคุยโทรศัพท์จริงๆ เขาจะเดินออกมาตรงส่วนหัวหรือท้ายขบวนเพื่อโทรศัพท์ จะได้ไม่เป็นการรบกวนคนอื่น
2. พูดคุยกันเสียงดังในรถไฟ (ร้อยละ 58.5)
เช่นเดียวกับข้อที่ 3 การพูดคุยกันเสียงดังในรถไฟก็อาจสร้างความรบกวนให้กับผู้อื่นได้
1. นั่งกินพื้นที่ชาวบ้าน (ร้อยละ 72.8)
ข้อนี้เป็นข้อที่มีคนลงความเห็นว่าเป็นการเสียมารยาทที่สุดในการใช้รถไฟที่ญี่ปุ่น นั่นก็คือการที่คนข้างๆ ใช้พื้นที่นั่งเยอะเกินไปในพื้นที่ของตัวเอง บางคนก็นั่งยืดขา วางของเกะกะคนข้างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เก้าอี้ในรถไฟ ไม่ว่าจะเป็นที่นั่งแบบนั่งคู่หรือที่นั่งแถวยาว ก็ไม่ได้มีพื้นที่กว้างพอที่จะให้นั่งแบบนั้นนะจ๊ะ
อย่างไรก็ตาม หากคุณใช้บริการรถไฟที่ญี่ปุ่น ก็ควรจะจำคำว่า “ซุมิมาเซ็น (Sumimasen) เอาไว้พูดกับคนญี่ปุ่น (คล้ายๆ กับคำว่า Excuse me ในภาษาอังกฤษ) เวลาที่ต้องการขอโทษผู้อื่น หากเราทำอะไรเป็นการรบกวนเขา เช่น พูดตอนขอให้คนอื่นหลีกทางให้หน่อย พูดตอนเราเอากระเป๋าไปโดนคนอื่น หรือไว้เรียกคนอื่น ตอนที่เราต้องการขอความช่วยเหลือจากเขาก็ได้เหมือนกัน
ขอบคุณที่มา soranews24.com
ขอบคุณภาพจาก freepik.com, photo-ac.com