เหลือเวลาอีกแค่เดือนกว่าๆ นะคะ สำหรับช่วงเวลาที่ทางการญี่ปุ่นจะเปิดให้นักปีนเขาหรือนักท่องเที่ยวทั่วไปขึ้นปีนภูเขาไฟฟูจิอย่างเป็นทางการ โดยทุกปีจะเริ่มตั้งแต่ ต้นเดือนกรกฎาคม จนถึงราวสิ้นเดือนสิงหาคมค่ะ ซึ่งเป็นช่วงหน้าร้อนของประเทศญี่ปุ่น ทำให้อากาศบนฟูจิซังไม่หนาวมากเกินไปค่ะ
การได้ปีนขึ้นไปบนสุดฟูจิซังสักครั้งในชีวิต เป็นจุดหมายของชาวญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายๆคน ซึ่งก็ไม่ใช่ทุกคนนะคะ ที่จะผ่านด่านขึ้นไปถึงบนสุดอย่างง่ายดาย โดยไม่มีการเตรียมพร้อมก่อนฉะนั้น ขอแนะนำข้อมูล และวิธีการเตรียมตัวเบื้องต้น เพื่อพิชิตภูเขาไฟฟูจิกันค่ะ
อันดับแรก เตรียมร่างกายให้แข็งแรง และพร้อมที่จะเผชิญกับอากาศที่บางเบาบนยอดฟูจิ อีกทั้งเท้าที่ต้องเหยียบย่ำหินก้อนกรวดที่เคยเป็นลาวามาก่อน ไม่มีนะคะพื้นดินนิ่มๆ เหมือนภูเขาธรรมดาทั่วไป การเตรียมตัวง่ายๆ ก่อนไปปีนล่วงหน้า คือ วิ่งค่ะ วิ่งทุกวัน วันละอย่างน้อย 2 ชั่วโมง โดยไม่พัก เพื่อให้ร่างการชินกับการใช้พลังอย่างต่อเนื่อง หัวใจและกล้ามเนื้อจะแข็งแรงพอที่จะเจอกับภาวะโหดร้ายเวลาปีนขึ้นฟูจิซัง ฟังดูน่ากลัวนะคะ แต่ไม่น่ากลัวหรอกค่ะ มันเป็นเรื่องจริงที่ทุกคนที่ขึ้นไปต้องเผชิญ
ต่อไป อันดับสอง คือ การเตรียมข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการปีนขึ้นฟูจิซัง มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
- รองเท้า : ควรเป็นรองเท้าที่แข็งแรง พื้นหนาและนุ่มเท้า เหมาะสำหรับการปีนเขายิ่งดีค่ะ อย่าคิดจะใส่ผ้าใบแฟชั่นธรรมดานะคะ เตือนแล้วนะ เท้าพองแถมมีแผลและเข่าระบมแน่นอนค่ะ เพราะฟูจิซังคือภูเขาไฟค่ะ ไม่ใช่ภูเขาธรรมดา ไม่มีดินหรือทรายนุ่มๆ ให้เหยียบเดินนะคะ มีแต่หินก้อนกรวด เดินแล้วลื่น เท่านั้นค่ะที่เราจะต้องเจอ
- เสื้อผ้า : แม้ว่าจะเป็นช่วงหน้าร้อนของญี่ปุ่นก็ตาม แต่อากาศข้างบนฟูจิซังไม่ร้อนเหมือนข้างล่างนะคะ เรียกได้ว่า ยิ่งสูงยิ่งหนาวค่ะ อากาศบนยอดอากาศจะเหลือเพียงเลขตัวเดียว ฉะนั้นจึงต้องเตรียมพร้อมเรื่องเสื้อผ้าไว้เลยค่ะ ต้องทั้งกันลม กันฝน กันหนาว แต่ใส่แล้วไม่อึดอัด เตรียมหมวกไปด้วยนะคะ
- ถุงมือ : ซึ่งไม่ได้ไว้กันหนาวอย่างเดียวค่ะ แต่เราต้องใส่เพราะเราต้องมีไม้ช่วยพยุงตัวเราทั้งขาขึ้นขาลงเลยค่ะ และป้องกันเวลาลื่นล้ม มือก็ไม่พองค่ะ
- ไฟฉาย : ที่แนะนำคือแบบที่สวมหัวไว้ค่ะ เพราะอย่างที่กล่าวมา มือเราต้องถือไม้ไว้ ซึ่งบางคนอาจจะทำแบบสกี ถือ 2 อันเลย ก็จะไม่สะดวกถ้าต้องมาถือไฟฉายอีก
- น้ำดื่ม อาหารแห้ง หรือขนมเสริมพลังงาน : จะไม่มีก๊อกน้ำดื่มตามเส้นทางการปีนขึ้นฟูจิซังนะคะ ฉะนั้นควรเตรียมไปให้พอดี ไม่มากไม่น้อยไป เวลาดื่มก็จิบๆ ค่ะ ส่วนขนมก็พกไปเพื่อเพิ่มพลังงานให้ร่างกายมีแรงค่ะ แนะนำเป็นแบบ cereal bar หรือ เจลลี่ให้พลังงานและน้ำแบบเพิ่มอ๊อกซิเจนค่ะ อาหารและน้ำจะมีขายตามที่พักบนแต่ละสเตชั่นค่ะ แต่ราคาก็ประมาณ 5 เท่าของราคาปกตินะคะ
- เป้ : แนะนำเป็นเป้สะพานหลังแบบแบ็คแพ็คเกอร์ พกที่กันน้ำครอบไปด้วยก็ดีนะคะ
- เสื้อกันฝน : มีโอกาศฝนตกได้สูงมากค่ะ บนนั้น พกไว้ไม่เสียหายค่ะ เพราะนอกจากในที่พักแล้ว นอกนั้นไม่มีที่ให้หลบฝนนะคะ
- เงินสด : ได้ใช้เงินแน่ๆค่ะ เพราะยิ่งสูง ยิ่งหนาว และยิ่งแพงค่ะ แค่เข้าไปขอนั่งพัก ก็ต้องเสียตังค์นะคะ โดยจะคิดเป็นครั้งละ 15 นาที หึหึ แต่ถ้าซื้อน้ำหรือมาม่ากินด้วย ก็จะได้นั่งฟรีค่ะ แต่จับเวลาเหมือนกันนะคะ และการประทับตราแต่ละสเตชั่น หรือซื้อของที่ระลึกบนยอดฟูจิซังก็จำเป็นต้องใช้เงินสดเช่นเดียวกันค่ะ
- แว่นกันแดด : แม้ว่าคุณจะปีนขึ้นตอนเย็น แต่กว่าจะถึงบนนั้นก็เช้าแล้วค่ะ เผื่อเวลาขาลงอีก ได้ใช้แน่นอนค่ะ
- ของจำเป็นส่วนตัวอย่างอื่น เช่น ยาประจำตัว โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป ถุงร้อน .... ขาดไม่ได้คือ อ๊อกจิเซนกระป๋อง อันนี้สำคัญจริงๆ ค่ะ และช่วยให้ร่างกายดีขึ้นในพริบตา อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า อากาศบนนั้น ยิ่งสูง ยิ่งมีอากาศที่เบาบาง หายใจไม่โล่ง มีโอกาสสูงที่ร่างกายจะปรับตัวไม่ทัน มีผลทำให้เวียนหัว คลื่นไส้ หรือหัวใจหยุดเต้นค่ะ
-ของใช้แนะนำเพิ่มเติม คือ : แผ่นแปะร้อน (Kairo) อันนี้ส่วนตัวเลยนะคะ คือเป็นตะคริวง่าย เลยแปะที่ขากางเกงเพิ่มความอบอุ่นให้กับช่วงขา จะได้ไม่เป็นตะคริวค่ะ ลองดูลิ้งค์นี้ค่ะ ... http://www.jgbthai.com/kairo-warmer/
และสร้อยคอเพิ่มพลัง อันนี้เป็นตัวเสริม ไม่รู้ใช้ได้จริงหรือเปล่า แต่ก็พิสูจน์แล้วว่ามันทำให้เราได้พิชิตยอดฟูจิซังสำเร็จแบบม้วนเดียวจบ หาซื้อได้ตามร้านกีฬาทั่วไปทั่วญี่ปุ่นค่ะ มีทั้งแบบสร้อยคอ สร้อยข้อมือ สีสันสวยงามให้เลือกตามชอบค่ะ แต่ถ้าหาซื้อไม่ทัน จะพกการ์ดพลังของเซนต์เซย่าไป ก็ไม่ว่ากันนะคะ หึหึ
อันดับสาม คือ สำรวจเส้นทาง เตรียมสำรองที่พัก หรือหาข้อมูลในการปีนฟูจิซัง โดยจะขออธิบายในคราวหน้านะคะ
คราวนี้ลองดูวีดีโอที่พาคนไทยไปปีนฟูจิซังมาแล้ว ตามด้านล่าง เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นนะคะ
ทุกเรื่องเที่ยว เก็บเกี่ยวมาเล่า บายนกสวย ^^//
การได้ปีนขึ้นไปบนสุดฟูจิซังสักครั้งในชีวิต เป็นจุดหมายของชาวญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายๆคน ซึ่งก็ไม่ใช่ทุกคนนะคะ ที่จะผ่านด่านขึ้นไปถึงบนสุดอย่างง่ายดาย โดยไม่มีการเตรียมพร้อมก่อนฉะนั้น ขอแนะนำข้อมูล และวิธีการเตรียมตัวเบื้องต้น เพื่อพิชิตภูเขาไฟฟูจิกันค่ะ
อันดับแรก เตรียมร่างกายให้แข็งแรง และพร้อมที่จะเผชิญกับอากาศที่บางเบาบนยอดฟูจิ อีกทั้งเท้าที่ต้องเหยียบย่ำหินก้อนกรวดที่เคยเป็นลาวามาก่อน ไม่มีนะคะพื้นดินนิ่มๆ เหมือนภูเขาธรรมดาทั่วไป การเตรียมตัวง่ายๆ ก่อนไปปีนล่วงหน้า คือ วิ่งค่ะ วิ่งทุกวัน วันละอย่างน้อย 2 ชั่วโมง โดยไม่พัก เพื่อให้ร่างการชินกับการใช้พลังอย่างต่อเนื่อง หัวใจและกล้ามเนื้อจะแข็งแรงพอที่จะเจอกับภาวะโหดร้ายเวลาปีนขึ้นฟูจิซัง ฟังดูน่ากลัวนะคะ แต่ไม่น่ากลัวหรอกค่ะ มันเป็นเรื่องจริงที่ทุกคนที่ขึ้นไปต้องเผชิญ
ต่อไป อันดับสอง คือ การเตรียมข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการปีนขึ้นฟูจิซัง มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
- รองเท้า : ควรเป็นรองเท้าที่แข็งแรง พื้นหนาและนุ่มเท้า เหมาะสำหรับการปีนเขายิ่งดีค่ะ อย่าคิดจะใส่ผ้าใบแฟชั่นธรรมดานะคะ เตือนแล้วนะ เท้าพองแถมมีแผลและเข่าระบมแน่นอนค่ะ เพราะฟูจิซังคือภูเขาไฟค่ะ ไม่ใช่ภูเขาธรรมดา ไม่มีดินหรือทรายนุ่มๆ ให้เหยียบเดินนะคะ มีแต่หินก้อนกรวด เดินแล้วลื่น เท่านั้นค่ะที่เราจะต้องเจอ
- เสื้อผ้า : แม้ว่าจะเป็นช่วงหน้าร้อนของญี่ปุ่นก็ตาม แต่อากาศข้างบนฟูจิซังไม่ร้อนเหมือนข้างล่างนะคะ เรียกได้ว่า ยิ่งสูงยิ่งหนาวค่ะ อากาศบนยอดอากาศจะเหลือเพียงเลขตัวเดียว ฉะนั้นจึงต้องเตรียมพร้อมเรื่องเสื้อผ้าไว้เลยค่ะ ต้องทั้งกันลม กันฝน กันหนาว แต่ใส่แล้วไม่อึดอัด เตรียมหมวกไปด้วยนะคะ
- ถุงมือ : ซึ่งไม่ได้ไว้กันหนาวอย่างเดียวค่ะ แต่เราต้องใส่เพราะเราต้องมีไม้ช่วยพยุงตัวเราทั้งขาขึ้นขาลงเลยค่ะ และป้องกันเวลาลื่นล้ม มือก็ไม่พองค่ะ
- ไฟฉาย : ที่แนะนำคือแบบที่สวมหัวไว้ค่ะ เพราะอย่างที่กล่าวมา มือเราต้องถือไม้ไว้ ซึ่งบางคนอาจจะทำแบบสกี ถือ 2 อันเลย ก็จะไม่สะดวกถ้าต้องมาถือไฟฉายอีก
- น้ำดื่ม อาหารแห้ง หรือขนมเสริมพลังงาน : จะไม่มีก๊อกน้ำดื่มตามเส้นทางการปีนขึ้นฟูจิซังนะคะ ฉะนั้นควรเตรียมไปให้พอดี ไม่มากไม่น้อยไป เวลาดื่มก็จิบๆ ค่ะ ส่วนขนมก็พกไปเพื่อเพิ่มพลังงานให้ร่างกายมีแรงค่ะ แนะนำเป็นแบบ cereal bar หรือ เจลลี่ให้พลังงานและน้ำแบบเพิ่มอ๊อกซิเจนค่ะ อาหารและน้ำจะมีขายตามที่พักบนแต่ละสเตชั่นค่ะ แต่ราคาก็ประมาณ 5 เท่าของราคาปกตินะคะ
- เป้ : แนะนำเป็นเป้สะพานหลังแบบแบ็คแพ็คเกอร์ พกที่กันน้ำครอบไปด้วยก็ดีนะคะ
- เสื้อกันฝน : มีโอกาศฝนตกได้สูงมากค่ะ บนนั้น พกไว้ไม่เสียหายค่ะ เพราะนอกจากในที่พักแล้ว นอกนั้นไม่มีที่ให้หลบฝนนะคะ
- เงินสด : ได้ใช้เงินแน่ๆค่ะ เพราะยิ่งสูง ยิ่งหนาว และยิ่งแพงค่ะ แค่เข้าไปขอนั่งพัก ก็ต้องเสียตังค์นะคะ โดยจะคิดเป็นครั้งละ 15 นาที หึหึ แต่ถ้าซื้อน้ำหรือมาม่ากินด้วย ก็จะได้นั่งฟรีค่ะ แต่จับเวลาเหมือนกันนะคะ และการประทับตราแต่ละสเตชั่น หรือซื้อของที่ระลึกบนยอดฟูจิซังก็จำเป็นต้องใช้เงินสดเช่นเดียวกันค่ะ
- แว่นกันแดด : แม้ว่าคุณจะปีนขึ้นตอนเย็น แต่กว่าจะถึงบนนั้นก็เช้าแล้วค่ะ เผื่อเวลาขาลงอีก ได้ใช้แน่นอนค่ะ
- ของจำเป็นส่วนตัวอย่างอื่น เช่น ยาประจำตัว โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป ถุงร้อน .... ขาดไม่ได้คือ อ๊อกจิเซนกระป๋อง อันนี้สำคัญจริงๆ ค่ะ และช่วยให้ร่างกายดีขึ้นในพริบตา อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า อากาศบนนั้น ยิ่งสูง ยิ่งมีอากาศที่เบาบาง หายใจไม่โล่ง มีโอกาสสูงที่ร่างกายจะปรับตัวไม่ทัน มีผลทำให้เวียนหัว คลื่นไส้ หรือหัวใจหยุดเต้นค่ะ
-ของใช้แนะนำเพิ่มเติม คือ : แผ่นแปะร้อน (Kairo) อันนี้ส่วนตัวเลยนะคะ คือเป็นตะคริวง่าย เลยแปะที่ขากางเกงเพิ่มความอบอุ่นให้กับช่วงขา จะได้ไม่เป็นตะคริวค่ะ ลองดูลิ้งค์นี้ค่ะ ... http://www.jgbthai.com/kairo-warmer/
และสร้อยคอเพิ่มพลัง อันนี้เป็นตัวเสริม ไม่รู้ใช้ได้จริงหรือเปล่า แต่ก็พิสูจน์แล้วว่ามันทำให้เราได้พิชิตยอดฟูจิซังสำเร็จแบบม้วนเดียวจบ หาซื้อได้ตามร้านกีฬาทั่วไปทั่วญี่ปุ่นค่ะ มีทั้งแบบสร้อยคอ สร้อยข้อมือ สีสันสวยงามให้เลือกตามชอบค่ะ แต่ถ้าหาซื้อไม่ทัน จะพกการ์ดพลังของเซนต์เซย่าไป ก็ไม่ว่ากันนะคะ หึหึ
อันดับสาม คือ สำรวจเส้นทาง เตรียมสำรองที่พัก หรือหาข้อมูลในการปีนฟูจิซัง โดยจะขออธิบายในคราวหน้านะคะ
คราวนี้ลองดูวีดีโอที่พาคนไทยไปปีนฟูจิซังมาแล้ว ตามด้านล่าง เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นนะคะ
ทุกเรื่องเที่ยว เก็บเกี่ยวมาเล่า บายนกสวย ^^//