White Day! ควันหลงวันวาเลนไทน์กับการตอบรับของหนุ่มๆ

ใครว่าวาเลนไทน์ผ่านไปแล้ว สำหรับสาวๆ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีนยังจ้า เพราะพวกเธอกำลังรอลุ้น "คำตอบ" จากชายหนุ่มที่เธอเอาช็อคโกแลตไปสารภาพรักกันอยู่ ซึ่งวันแห่งการรอคอยของสาวๆ เหล่านี้ก็คือวันที่ 14 มีนาคม หรือที่เรียกกันติดปากว่า "White Day" หนึ่งเดือนหลังจากวันวาเลนไทน์ (14 กุมภาพันธ์) นั่นเอง

ก่อนอื่นเราขอเล่าย้อนกลับไปตั้งแต่ปี ค.ศ.1958 ในสมัยที่ญี่ปุ่นเพิ่งรู้จักกับวาเลนไทน์ใหม่ๆ และยังไม่มีวันไวท์เดย์ มีร้านช็อคโกแลตในกรุงโตเกียวที่ชื่อว่า Mary's Chocolate ออกแคมเปญให้หญิงสาวชาวญี่ปุ่นฉลองวาเลนไทน์ด้วยการซื้อช็อคโกแลตให้กับชายที่ตนรักแล้วก็เริ่มผลิตช็อคโกแลตรูปหัวใจออกมาจำหน่าย กระแสตอบรับตอนนั้นบูมมากจนกลายเป็นเทรนด์อยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่สมาคมช็อคโกแลตและโกโก้ของญี่ปุ่นจะกำหนดให้วันที่ 14 กุมพันธ์ของทุกปีเป็นวันแห่งช็อคโกแลตในปี ค.ศ.1970

ธรรมเนียมการให้ช็อคโกแลตวันวาเลนไทน์ของคนญี่ปุ่นในยุคหลังๆ นั้นสามารถให้ได้ทั้งเพื่อนและคนรัก โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

Honmei Choco

honmei

ช็อคโกแลตที่มอบให้กับคนรัก ส่วนมากจะเป็นช็อคโกแลตที่ทำขึ้นเองเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความตั้งใจและความจริงใจที่มีให้กับคนๆ นั้น

Giri Choco

giri

ช็อคโกแลตประเภทนี้ส่วนใหญ่จะซื้อกันตามร้านค้าทั่วไปและนำมอบให้ตามธรรมเนียมเพื่อแสดงความรู้สึกดีๆ ต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง คนในครอบครัว รวมไปถึงเจ้านายและเพื่อนร่วมงาน

img15

ทีนี้พอมีช็อคโกแลตเดย์แล้ว หลังจากนั้นไม่นานไวท์เดย์ก็เกิดขึ้นและเริ่มเฉลิมฉลองครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1978 โดยมีที่มาจากแผนทางการตลาดของบริษัท Ishimuramanseido บริษัทผลิตมาร์ชเมลโลว์ในฟุกุโอกะที่เกิดปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่าในเมื่อมีวันที่หญิงสาวมอบช็อคโกแลตให้ชายหนุ่มแล้ว ก็น่าจะมีวันที่ชายหนุ่มมอบของขวัญตอบแทนให้กับหญิงสาวที่มาสารภาพรักบ้าง บริษัทนี้เขาก็เลยตัดสินใจใช้มาร์ชเมลโลว์ สินค้าหลักของบริษัทเนี่ยแหละมาเป็นกิมมิค แล้วก็กำหนดให้วันที่ 14 มีนาคมของทุกปีเป็นวันแห่งมาร์ชเมลโลว์ (Marshmallow Day) 

main

 

ต่อมาก็เริ่มมีบริษัทคู่แข่งอีกหลายเจ้า ตั้งแต่ช็อคโกแลต ลูกกวาด จิวเวอรี่ หันมาโปรโมทสินค้าตัวเองให้จำหน่ายในวันนี้เพิ่มขึ้น ไม่นานสินค้าต่างๆ ก็กลายเป็นสินค้าที่ผู้ชายนิยมซื้อกันไปเป็นของขวัญ ทั้งของที่ทานได้และทานไม่ได้ Marshmallow Day ในตอนนั้นจึงถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น White Day และใช้อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

white day-tile

 

สำหรับในเมืองไทยไวท์เดย์อาจจะยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก สาวๆ หลายคนที่รู้จักวันนี้อาจจะต้องรอนานกันนิดนึง แต่ว่าถ้าใครปิ๊งๆ กับหนุ่มนิปปอนบอยหรือโอปป้าแล้วอยู่ๆ วันที่ 14 มีนาคมนี้มีของขวัญมาวางไว้ให้ที่โต๊ะล่ะก็ขอแสดงความยินดีด้วยจ้า

ข้อมูลและภาพจาก
http://us.jnto.go.jp/
https://en.wikipedia.org/
www.ishimura.co.jp
www.matome.naver.jp