6 วิธีคนเมืองหลวงจับผิดบ้านนอกเข้ากรุงโตเกียว

กรุงโตเกียว เมืองหลวงแห่งประเทศญี่ปุ่น เมืองที่มีผู้คนพลุกพล่านจำนวนมหาศาลจากหลายจังหวัดทั่วประเทศเนื่องจากต้องการที่จะเข้ามาทำงานหรือว่าศึกษาต่อ ซึ่งช่วงฤดูใบไม้ผลิก็เป็นช่วงที่ผู้คนจากต่างจังหวัดไหลเข้ามาในโตเกียวเนื่องจากเป็นช่วงปีการศึกษาใหม่และเป็นช่วงเริ่มต้นปีงบประมาณของหลายบริษัท ซึ่งพวกเขาเหล่านี้มักจะมีพฤติกรรมที่ยังไม่ชินกับกรุงโตเกียว วันนี้เราจะพาไปดูกันว่าคนในเมืองหลวงเขามีวิธีตรวจจับกลุ่มคนเหล่านี้อย่างไร โดยผู้ใช้ทวีตเตอร์ @niichi021 ได้แชร์ออกมาเป็นภาพวาดการ์ตูนน่ารักๆ ที่บ่งบอกออกมาได้ดีทีเดียว เอาล่ะ จะมีอะไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลย

 

1. หาทางออกสถานีรถไฟไม่เจอ

หากใครที่เคยไปเที่ยวญี่ปุ่นจะรู้กันดีว่าสถานีรถไฟที่โตเกียวนั่นมันมีอะไรที่มากมายกว่าสถานีรถไฟทั่วๆ ไป เพราะว่ามันมีความสลับซับซ้อนเนื่องจากมีร้านอาหาร, ร้านขายของ, เอเจนซี่ท่องเที่ยว และอื่นๆ มากมาย โดยเฉพาะสถานีชินจูกุและอิเคะบุคุโระที่มีพื้นที่กว้างมาก จึงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับมือใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่

2. ออกอาการตื่นตระหนกเวลาเจอป้ายต่างๆ มากมาย

สืบเนื่องจากความสลับซับซ้อนภายในสถานี จึงต้องมีป้ายบอกทางและป้ายเตือนต่างๆ เป็นผลให้เกิดการอึนมึนงงและจะออกอาการลนลานตื่นตระหนกเวลาที่หาทางออกหรือหาร้านต่างๆ ไม่เจอ

3. ถือหนังสือไกด์บุ๊คที่ไม่ค่อยจะช่วยได้เท่าไหร่

ในเมื่อเกิดความไม่ชินในพื้นที่ จ๊ะจ๊างงง แน่นอนว่าก็ต้องมีตัวช่วยสุดคลาสสิคที่จะต้องนำมันออกมาเปิดอ่าน ใช่แล้ว นั้นก็คือพวกหนังสือไกด์บุ๊คเกี่ยวกับการท่องเที่ยวต่างๆ ในกรุงโตเกียวที่ในแต่ละปีจะมีการตีพิมพ์ออกมาจำนวนมหาศาล รวมไปถึงพวกแผนที่พับต่างๆ ด้วย ไกด์บุ๊คพวกนี้อาจจะช่วยคุณในการหา 10 อันดับร้านอร่อยชื่อดังกรุงโตเกียว แต่มันก็ไม่ได้ช่วยในด้านของการทำงานหรือการเรียนเลย

4. กังวลเรื่องการแต่งตัวว่าจะดูเป็นบ้านนอกเข้ากรุง

กรุงโตเกียวนอกจากว่าจะเป็นศูนย์กลางในเรื่องของเศรษฐกิจและการศึกษาแล้ว แน่นอนว่ามันก็เป็นศูนย์กลางในเรื่องแฟชั่นด้วย หลายคนที่พึ่งเข้ามาโตเกียวใหม่ๆ ก็จะกังวลเรื่องการแต่งตัวเป็นพิเศษ อยากจะดูดีให้เหมือนกับชาวบ้านชาวช่องเขาบ้าง ไม่อยากจะเป็นตัวประหลาดให้คนนินทาว่าเป็นบ้านนอกเข้ากรุง

5. ลากกระเป๋าเดินทางอย่างทุลักทุเล เนื่องจากคนหนาแน่น

การย้ายมาอยู่ในโตเกียว มันก็ต้องมีสัมภาระเครื่องใช้ต่างๆ ที่เราต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ก็เลยต้องขนของลากกระเป๋าใบใหญ่ที่มีล้อลำหรับลากมาด้วย แต่ทว่าเขามักจะลืมนึกถึงว่าหลังเลิกงานนั้นเป็นช่วงที่ผู้คนหนาแน่นมากๆ ทำให้ต้องลากกระเป๋ากันอย่างทุกลักทุเลบางทีก็ถึงกับลากไม่ได้

6. มีอาการจากสภาพอากาศที่ไม่เหมือนบ้านเกิด

บางคนอาจจะเดินทางมาจากจังหวัดทางเหนืออย่างจังหวัดฮอคไกโด ซึ่งมีภูมิอากาศที่เย็นกว่าในกรุงโตเกียว พอต้องย้ายเข้ามาอยู่ในโตเกียวก็จะไม่คุ้นกับสภาพอากาศ เช่นอาจจะมีอาการร้อนออกมาให้เห็น รวมถึงบางคนอาจจะเผลอแต่งกายที่เหมาะสำหรับภูมิอากาศบ้านเกิด ก็เลยยิ่งมีอาการที่ชัดหนักเข้าไปอีก ^ ^"

ขอบคุณภาพจาก
Francisco Diez @ Flickr