เข้าฤดูหนาวแล้ว อากาศก็จะเริ่มหนาวเย็นขึ้น และหากอากาศหนาวๆ แบบนี้ แล้วได้รับประทานอาหารที่ให้ความอบอุ่นและอิ่มท้องด้วยแล้วละก็คงจะดีไม่น้อยเลยนะคะ และหากพูดถึงประเทศญี่ปุ่น อาหารอันดับต้นที่เหมาะแกการรับประทานในฤดูหนาวแล้ว มีเมนูอะไรอยู่ในดวงใจกันบ้างคะ อาจจะเป็นราเมงในซุปร้อนๆ หรือล้อมวงนั่งกินนาเบะ หรือใครที่สะดวกแบบเดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตแล้วซื้อโอเด้งกลับไปรับประทานที่บ้านก็ไม่ว่ากัน และด้วยความสะดวกนี้เองค่ะ วันนี้เราจึงจะมาทำความรู้จักกับโอเด้งให้มากขึ้นกันค่ะ
ก่อนอื่นเราต้องย้อนอดีตไปก่อนนะคะ ต้องบอกก่อนว่าโอเด้งในอดีตมีจุดเริ่มต้นมาจาก โทฟุเดนกาคุ (Tofu denkaku) หรือเต้าหู้โอเด้ง แต่เป็นโอเด้งในรูปแบบเสียบไม้ย่างนะคะ โดยการนำเต้าหูไปตัดเป็นก้อนแล้วนำมาเสียบไม้ โรยเกลือ และย่าง หลักจากนั้นเมื่อวันเวลาผ่านไปก็มีการนำวัตถุดิบอื่นๆ ลงไปในเมนู จนเกิดเป็นโอเด้งอย่างที่เราๆ ท่านๆ เห็นกันในปัจจุบัน โดยโอเด้งในปัจจุบันนั้นเริ่มต้นจากช่วงปลายยุคเอโดะ ที่เมืองโจชิและโนดะซึ่งอยู่ในจังหวัดจิบะ ที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องการหมักโชยุมาก จึงได้เพิ่มเติมโชยุเข้าไปในโอเด้ง นี่เองจึงเป็นจุดเริ่มของโอเด้งแบบต้ม
หลังจากนั้นเมื่อเวลาล่วงเลยมายังยุคสมัยไทโช ที่ทำให้การรับประทานโอเด้งขยายออกเป็นวงกว้างไปจนถึงแถบคันไซ และที่คันไซนี้ก็เรียกโอเด้งว่า คันไซนิ ในแบบฉบับของชาวคันไซเองด้วยค่ะ และในสมัยโชวะ จึงได้มีร้านที่ขายโอเด้งเกิดขึ้น เป็นร้านนั่งรับประทานโอเด้งกันนอกบ้าน แต่ในช่วงเวลาต่อมามีการผลิตผงน้ำซุปโอเด้งขายตามซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้ใครๆ ก็สามารถทำโอเด้งรับประทานกันที่บ้านกันได้ จึงเริ่มนิยมรับประทานกันที่บ้านโดยที่ไม่ต้องไปยังร้านโอเด้งกันมากขึ้น
ต่อมาในปี 1980 ตามร้านสะดวกซื้อ หรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปก็เริ่มมีโอเด้งขายกันแล้ว แถมยังสะดวก เพียงแค่เลือก ตักใส่ชาม และจ่ายเงิน ง่ายๆ แค่นี้ก็ได้โอเด้งแสนอะร่อยกลับไปรับประทานที่บ้านแล้วค่ะ หลังจากนั้นก็มีการรับประทานกันอย่างแพร่หลายไปทั่วประเทศ และเกิดโอเด้งที่มีรูปแบบเฉพาะตัวในแต่ละท้องถิ่นด้วย ซึ่งในปี 1940 แทบจะทุกบ้านเริ่มมีการทำโอเด้งรับประทานกันในครัวเรือน โดยการนำวัตถุดิบใส่หม้อแล้วต้ม เพียงเท่านั้นก็ได้โอเด้งอร่อยๆ ไว้รับประทานกันแล้วค่ะ ส่วนเรื่องของรสชาตินั้น เมนูโอเด้งมีการปรุงรสอย่างมีรสชาติและสไตล์เด่นๆ อยู่ด้วยกัน 2 แบบค่ะ นั่นคือ ซุปสาหร่ายคอมบุ หรือคอมบุดาชิ ในแบบคันไซ และซุปปลาโอ หรือคาซึโอดาชิ ซุปทั้งสองแบบนี้มีส่วนผสมหลักคือโชยุในสไตล์ของท้องถิ่นนั้นๆ ที่ให้รสชาติที่อร่อยและแตกต่างกันไปค่ะ
ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของโอเด้งนั่นก็คือ วัตถุดิบที่ทำให้เราอิ่มท้องค่ะ เพราะเครื่อง โอเด้ง นั้นโดยส่วนใหญ่จะเป็นพวกผักกินรากหรือหัว รวมถึงพวกลูกชิ้นที่ทำจากเนื้อปลาค่ะ เรามาเริ่มกันที่วัตถุดิบอย่างแรกที่จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก หัวไชเท้า วัตถุดิบยอดนิยมตลอดกาลและขาดไม่ได้ของโอเด้ง เพราะหัวไชเท้านั้นจะดูดน้ำซุปและรสชาติเอาไว้ และเมื่อรับประทานเข้าไปเราก็จะได้รสชาติหวานอร่อยที่แทรกอยู่ในตัวของหัวไชเท้าย่างเต็มปากเต็มคำเลยค่ะ
กล่าวได้ว่าเป็นวัตถุดิบที่ขาดไม่ได้สำหรับโอเด้ง ต่อมาเป็นสึมิเระลูกชิ้นปลาบดที่ทำจากปลาเนื้อแดง เช่น ปลาอิวาชิ ปลาซาบะ และปลาอาจิ เป็นต้นค่ะ โดยสึมิเระถือเป็นหนึ่งในเครื่องโอเด้งที่มีคุณค่าทางอหารสูง ได้รสชาติปลาที่เข้มข้น เป็นอีกวัตถุดิบหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในโอเด้งเลยค่ะ และสำหรับเครื่องโอเด้งอย่างอื่นๆ เช่น ไข่ต้ม, ไข่ม้วน , บุก, ชิคุวาบุ, โมจิคินจาคุ, ทอดมันปลาสอดใส้รากบัวของญี่ปุ่น, ซัตสึมะอาเกะ หรือทอดมันปลาทอด, ฮันเปง, กิวสุจิ นอกจากวัตถุดิบในโอเด้งที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็ยังมี กะหล่ำม้วน, ไส้กรอก, ปลาหมึก และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งของขึ้นอยู่กับในพื้นที่นั้นๆ ที่จะนำเสนอโอเด้งและเครื่องที่รับประทานให้เลือกกันหลากหลาย และมากน้อยเพียงใดค่ะ แต่โดยรวมๆ แล้วอร่อยทุกอย่างเลยละค่ะ
ลมหนาวพัดมาแบบนี้ หากยังคิดไม่ออกว่าจะรับประทานอะไรให้คลายหนาวลงไปได้บ้างแล้วละก็ เราขอเสนอเมนูโอเด้งให้เป็นหนึ่งในตัวเลือกเมนูที่ที่รับประทานในช่วงฤดูหนาวนี้ด้วยนะคะ เพราะหากได้ลองทานสักครั้งแล้วรับลองว่าจะต้องติดใจอย่างแน่นอน
ข้อมูล
https://www.kibun.co.jp/knowledge/oden/history/rekishi/
https://en.wikipedia.org/wiki/Oden
ก่อนอื่นเราต้องย้อนอดีตไปก่อนนะคะ ต้องบอกก่อนว่าโอเด้งในอดีตมีจุดเริ่มต้นมาจาก โทฟุเดนกาคุ (Tofu denkaku) หรือเต้าหู้โอเด้ง แต่เป็นโอเด้งในรูปแบบเสียบไม้ย่างนะคะ โดยการนำเต้าหูไปตัดเป็นก้อนแล้วนำมาเสียบไม้ โรยเกลือ และย่าง หลักจากนั้นเมื่อวันเวลาผ่านไปก็มีการนำวัตถุดิบอื่นๆ ลงไปในเมนู จนเกิดเป็นโอเด้งอย่างที่เราๆ ท่านๆ เห็นกันในปัจจุบัน โดยโอเด้งในปัจจุบันนั้นเริ่มต้นจากช่วงปลายยุคเอโดะ ที่เมืองโจชิและโนดะซึ่งอยู่ในจังหวัดจิบะ ที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องการหมักโชยุมาก จึงได้เพิ่มเติมโชยุเข้าไปในโอเด้ง นี่เองจึงเป็นจุดเริ่มของโอเด้งแบบต้ม
หลังจากนั้นเมื่อเวลาล่วงเลยมายังยุคสมัยไทโช ที่ทำให้การรับประทานโอเด้งขยายออกเป็นวงกว้างไปจนถึงแถบคันไซ และที่คันไซนี้ก็เรียกโอเด้งว่า คันไซนิ ในแบบฉบับของชาวคันไซเองด้วยค่ะ และในสมัยโชวะ จึงได้มีร้านที่ขายโอเด้งเกิดขึ้น เป็นร้านนั่งรับประทานโอเด้งกันนอกบ้าน แต่ในช่วงเวลาต่อมามีการผลิตผงน้ำซุปโอเด้งขายตามซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้ใครๆ ก็สามารถทำโอเด้งรับประทานกันที่บ้านกันได้ จึงเริ่มนิยมรับประทานกันที่บ้านโดยที่ไม่ต้องไปยังร้านโอเด้งกันมากขึ้น
ต่อมาในปี 1980 ตามร้านสะดวกซื้อ หรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปก็เริ่มมีโอเด้งขายกันแล้ว แถมยังสะดวก เพียงแค่เลือก ตักใส่ชาม และจ่ายเงิน ง่ายๆ แค่นี้ก็ได้โอเด้งแสนอะร่อยกลับไปรับประทานที่บ้านแล้วค่ะ หลังจากนั้นก็มีการรับประทานกันอย่างแพร่หลายไปทั่วประเทศ และเกิดโอเด้งที่มีรูปแบบเฉพาะตัวในแต่ละท้องถิ่นด้วย ซึ่งในปี 1940 แทบจะทุกบ้านเริ่มมีการทำโอเด้งรับประทานกันในครัวเรือน โดยการนำวัตถุดิบใส่หม้อแล้วต้ม เพียงเท่านั้นก็ได้โอเด้งอร่อยๆ ไว้รับประทานกันแล้วค่ะ ส่วนเรื่องของรสชาตินั้น เมนูโอเด้งมีการปรุงรสอย่างมีรสชาติและสไตล์เด่นๆ อยู่ด้วยกัน 2 แบบค่ะ นั่นคือ ซุปสาหร่ายคอมบุ หรือคอมบุดาชิ ในแบบคันไซ และซุปปลาโอ หรือคาซึโอดาชิ ซุปทั้งสองแบบนี้มีส่วนผสมหลักคือโชยุในสไตล์ของท้องถิ่นนั้นๆ ที่ให้รสชาติที่อร่อยและแตกต่างกันไปค่ะ
ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของโอเด้งนั่นก็คือ วัตถุดิบที่ทำให้เราอิ่มท้องค่ะ เพราะเครื่อง โอเด้ง นั้นโดยส่วนใหญ่จะเป็นพวกผักกินรากหรือหัว รวมถึงพวกลูกชิ้นที่ทำจากเนื้อปลาค่ะ เรามาเริ่มกันที่วัตถุดิบอย่างแรกที่จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก หัวไชเท้า วัตถุดิบยอดนิยมตลอดกาลและขาดไม่ได้ของโอเด้ง เพราะหัวไชเท้านั้นจะดูดน้ำซุปและรสชาติเอาไว้ และเมื่อรับประทานเข้าไปเราก็จะได้รสชาติหวานอร่อยที่แทรกอยู่ในตัวของหัวไชเท้าย่างเต็มปากเต็มคำเลยค่ะ
กล่าวได้ว่าเป็นวัตถุดิบที่ขาดไม่ได้สำหรับโอเด้ง ต่อมาเป็นสึมิเระลูกชิ้นปลาบดที่ทำจากปลาเนื้อแดง เช่น ปลาอิวาชิ ปลาซาบะ และปลาอาจิ เป็นต้นค่ะ โดยสึมิเระถือเป็นหนึ่งในเครื่องโอเด้งที่มีคุณค่าทางอหารสูง ได้รสชาติปลาที่เข้มข้น เป็นอีกวัตถุดิบหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในโอเด้งเลยค่ะ และสำหรับเครื่องโอเด้งอย่างอื่นๆ เช่น ไข่ต้ม, ไข่ม้วน , บุก, ชิคุวาบุ, โมจิคินจาคุ, ทอดมันปลาสอดใส้รากบัวของญี่ปุ่น, ซัตสึมะอาเกะ หรือทอดมันปลาทอด, ฮันเปง, กิวสุจิ นอกจากวัตถุดิบในโอเด้งที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็ยังมี กะหล่ำม้วน, ไส้กรอก, ปลาหมึก และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งของขึ้นอยู่กับในพื้นที่นั้นๆ ที่จะนำเสนอโอเด้งและเครื่องที่รับประทานให้เลือกกันหลากหลาย และมากน้อยเพียงใดค่ะ แต่โดยรวมๆ แล้วอร่อยทุกอย่างเลยละค่ะ
ลมหนาวพัดมาแบบนี้ หากยังคิดไม่ออกว่าจะรับประทานอะไรให้คลายหนาวลงไปได้บ้างแล้วละก็ เราขอเสนอเมนูโอเด้งให้เป็นหนึ่งในตัวเลือกเมนูที่ที่รับประทานในช่วงฤดูหนาวนี้ด้วยนะคะ เพราะหากได้ลองทานสักครั้งแล้วรับลองว่าจะต้องติดใจอย่างแน่นอน
ข้อมูล
https://www.kibun.co.jp/knowledge/oden/history/rekishi/
https://en.wikipedia.org/wiki/Oden