เจ็บป่วยขณะไปเที่ยวญี่ปุ่น ต้องทำอย่างไรดี

เรื่องเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่ไม่มีความแน่นอนมากๆ และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ถ้าอยู่ในที่ไทยเราก็อาจจะไปหาหมอหาซื้อยาอะไรเองได้ เป็นเรื่องง่ายๆ แต่ทว่าถ้าเกิดเราอยู่ในญี่ปุ่นล่ะ เกิดบางทีอาจหกล้มขาหักขึ้นมาหรือว่าเป็นโรคที่รุนแรงก็คงเกิดอาการลนลานทำอะไรกันไม่ถูกเลยใช่ไหมล่ะ วันนี้ก็เลยจะมาแนะนำทิปเล็กๆ น้อยๆ ถ้าเกิดเราเจ็บป่วยที่ญี่ปุ่น เราควรต้องทำอย่างไรบ้าง

1. เรียกรถฉุกเฉินเบอร์ 119

kyukyu

ในกรณีที่เจ็บป่วยรุนแรงแทบจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เราสามารถโทรเรียกรถพยาบาลมารับได้โดยโทร 119 ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะสอบถามสถานที่และมารับเราไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง แต่มันจะลำบากหน่อยตรงที่ว่าเขาจะพูดเป็นภาษาญี่ปุ่น เราอาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง

2. โทรหาสายด่วน ไม่ต้องกลัว เพราะเขาคุยภาษาต่างประเทศได้



สำหรับใครที่ยังพอช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถโทรไปขอคำปรึกษากับศูนข้อมูลการแพทย์นานาชาติหรือ AMDA ได้ที่เบอร์ 03-6233-9266 ไม่ต้องกลัวว่าจะคุยไม่รู้เรื่อง เพราะเขามีสตาพที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษรวมไปถึงภาษาไทยได้ ซึ่งเขาก็จะสอบถามอาการพร้อมแนะนำโรงพยาบาลใกล้เคียงที่สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ด้วย โดยเปิดทำการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 - 17.00 น.

บางคนอาจจะสงสัย ถ้าเกิดเจ็บป่วยหลัง 5 โมงเย็นหรือว่าวันเสาร์ - อาทิตย์ จะต้องทำไง? ถ้าเป็นเคสนี้สามารถโทรหา Japan Helpline องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวในญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแผ่นดินไหวยันปวดฟันตอนเที่ยงคืนก็โทรหาได้ที่เบอร์ 03-5774-0992 ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

3. คลีนิคหรือโรงพยาบาลไม่รับรักษา อย่าพึ่งน้อยใจนะ

back06

ถ้าเกิดเราเจ็บป่วยในขณะที่ไม่ได้อยู่บ้านหรือที่พัก บางคนอาจจะเห็นคลีนิคหรือโรงพยาบาลแล้วนึกว่า เอ้อ ไหนๆ ก็ไหนแล้ว หาหมอซะเลยละกัน เดินเข้าโต้งๆ บางทีเขาก็อาจจะโดยเซย์โนกลับมาได้ จริงๆ แล้วมันมีเหตุผลตรงที่ถ้าแพทย์ที่ญี่ปุ่นไม่สามารถสื่อสารกับคนไข้ได้เขาจะไม่รับเป็นคนไข้ เกิดรักษาถูกๆ ผิดๆ แล้วเกิดอะไรกับคนไข้ อันนี้โทษหนักติดคุกหัวโตทีเดียว เขาก็เลยไม่รับนั่นเอง ทางทีดีถ้าจะหาหมอก็ควรขอคำปรึกษากับศูนข้อมูลการแพทย์นานาชาติด้วย จะได้ไม่เสียเที่ยวเด้อ

4. ใบสั่งยา อย่าหายเชียว

300px-Prescriptin

ในกรณีที่เราเข้ารักษาทีคลีนิค หรือสถานพยาบาลที่ไม่ใหญ่นัก ถ้าเขาไม่จ่ายยาให้ก็ไม่ต้องแปลกใจ นั่นเพราะว่าเขาไม่มียานั่นเอง โดยคุณหมอจะเขียนใบสั่งยาให้กับเรา และให้เราไปซื้อที่ร้านขายยานั่นเอง การซื้อยาเฉพาะทางหรือยาปฏิชีวนะในร้านขายยาญี่ปุ่นจะต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น ไม่ใช่ว่าฉันอยากได้ยาตัวนี้แล้วก็จะซื้อเลย อ้อนวอนอย่างเราเขาก็ไม่จ่าย เพราะถ้าเกิดเขาจ่ายยามั่ว เกิดกินยาไปแล้วเป็นอันตรายถึงชีวิต คนจ่ายยาติดคุกหัวบวมเช่นกัน

5. ค่าใช้จ่าย

kane

แน่นอนว่าไปหาหมอ ก็ต้องมีค่ารักษาพยาบาลและค่ายา ซึ่งค่ารักษาพยาบาลที่ญี่ปุ่นถือว่ามีราคาค่อนข้างสูงมากๆ ตามค่าครองชีพ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้เวลาที่เราไปเที่ยวก็ควรกันเงินไว้ส่วนหนึ่ง เผื่อกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเช่นนี้ ส่วนใครที่ไปญี่ปุ่นเพื่อศึกษาต่อหรืออาศัยที่ญี่ปุ่นเป็นระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป สามารถทำประกันสุขภาพแห่งชาติได้ที่สำนักงานเขตที่อาศัยอยู่โดยใช้บัตรประชาชนและพาสปอร์ต ซึ่งประกันสุขภาพแห่งชาตินี้จะคุ้มครองค่ารักษา 70-80 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

ทางที่ดีที่สุดก่อนที่เราจะไปเที่ยวญี่ปุ่น เราควรจะรักษาสุขภาพให้แข็งแรงก่อนวันออกเดินทาง แล้วก็พกยาเตรียมไปด้วยจ้า หากใครที่กังวลจริงๆ ก็สามารถทำประกันเดินทางกับบริษัทในไทยไว้ได้จ้า

 

ข้อมูลและคลิปจาก

LEVITRA from wikipedia
Masa8an from wikipedia
http://kawasemi-clinic.com/
http://ono-blog.com/
https://www.tsunagujapan.com