การทานแกงกะหรี่เผ็ดๆ ช่วยให้ลืมเรื่องร้ายๆ ลงได้นะ

ในเนื้อแกงกะหรี่ที่เราชอบทานกัน ยิ่งกินให้เผ็ดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้รู้ว่ามีสาร Curcumin อาศัยอยู่ด้วยนั่นเอง พระเอกของเรื่องในครั้งนี้ไม่ใช่แกงกะหรี่หรือผงกะหรี่  อย่างใด แต่เป็นพระเอกที่ทางวงการวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า Curcumin นั่นเอง


เจ้า Curcumin เป็นพืชสีเหลืองที่จัดอยู่ในจำพวกของขิง เครื่องเทศที่มีรสชาติค่อนข้างร้อนแรง มักแฝงอยู่กับอาหารที่มีรสจัดจ้าน และแน่นอนว่าเครื่องเทศในแถบเอเชียเช่นนี้เป็นที่นิยมกันทั่วทุกมุมโลก ตั้งแต่ซีกตะวันออกจนปลายสุดของอเมริกาทีเดียว เป็นเหตุให้สมัยก่อนคนมักทำสงครามเพื่อแย่งชิงของพวกนี้กันอยู่บ่อยครั้ง จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หากจะนำนาย Curcumin นี้มาพิจารณาในความหล่อและมีเสน่ห์ของมันต่อไป


เป็นที่ทราบกันดีว่าแกงกะหรี่นั้นมีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย และได้แพร่ความอร่อยนี้เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นเดียวกัน ในประเทศไทยเองก็ได้รับความนิยมกันอยู่ไม่น้อย สำหรับอาหารที่มีรสจัดและฮาร์ดคอร์เช่นนี้


เมื่อเรารับประทานนาย Curcumin ที่ผสมอยู่ในแกงกะหรี่เข้าไป พระเอกตัวนี้จะเข้าไปช่วยระงับความทรงจำหรือช่วงเวลาอันแสนจะเลวร้ายลง ทำให้ลืมเรื่องนั้นไปชั่วขณะ นับว่าเป็นการทำงานที่ให้ผลดีกับร่างกายมนุษย์ด้วยเช่นกัน ยิ่งเมื่อยามต้องการความสดชื่นหรือความกระปรี้กระเปร่าด้วย


หากยามกำลังประสบกับเรื่องอันแสนย่ำแย่ พร้อมกับต้องการที่จะลืมมันไป ทางเว็บไซต์ให้ความรู้ชื่อดังของญี่ปุ่นอย่าง Naver Japan จึงได้แนะนำให้คนญี่ปุ่นเองหันมากินแกงกะหรี่เพื่ออาจจะเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้พวกเขาลืมบาดแผลอันเจ็บปวดเหล่านั้นลงได้


ในทางทีมงานนักวิจัยของญี่ปุ่นเองได้ เปิดเผยว่านาย Curcumin มีผลระงับความทรงจำที่เลวร้ายของคนได้ระยะยาว โดยกล่าวว่า "Curcumin เป็นเหมือนยารักษาที่ช่วยระงับการทำงานของเซลล์สมองในส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความทรงจำให้เปลี่ยนไป"


นอกจากนี้ Curcumin ยังถูกเรียกว่าเป็นยาที่รักษาและให้คุณค่าต่างๆอีกหลายอย่างด้วยกันแก่ร่างกาย เช่น การเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น ช่วยในการทำงานของตับ ระบบไหลเวียนโลหิต และชำระล้างของเสียที่ตกค้างภายในร่างกาย ยิ่งในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ


อย่างไรก็ตามในหน้าหนาว ความรู้สึกที่เกิดอยากกินแกงกะหรี่กันขึ้นมานั้น นับว่าเป็นเรื่องต้องเฝ้าระวังกันทีเดียว! เพราะนั่นเป็นสัญญาณการเตือนจากร่างกายที่กำลังอยู่ในภาวการณ์ปรับตัว อาจจะด้วยสภาพของอากาศ หรือสภาวะแวดล้อมอย่างอื่น


ที่มา http://news.line.me/issue/lifestyle/eccbc0319363?utm_source=LINE&utm_medium=share&utm_campaign=none
(cr. Naver Japan แปลและเรียบเรียง : sorasora)