ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ได้รับความสนใจมากมายจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร การแต่งกาย สิ่งปลูกสร้าง หรือวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ บางงานประเพณี บางเทศกาล ก็อาจจะพอคุ้นหูมาบ้างแล้ว แต่บางประเพณีก็แปลกซะจนเราอดสงสัยไม่ได้ว่ามันมีที่มาอย่างไร เช่นเดียวกับ 10 เทศกาลงานประเพณีของญี่ปุ่น ต่อไปนี้ ที่มีแต่เรื่องราวน่าสนใจจนเราอดหยิบมานำเสนอไม่ได้จริงๆ
1. Tounin Gyouji
เทศกาล Tounin Gyouji (統人行事) จัดขึ้นทุกวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปีบริเวณสะพานฮาชิเรียว จังหวัดอากิตะ เพื่อเฉลิมฉลองให้กับการต่อสู้ระหว่าง ซุซาโนะโอะ (須佐之男命) เทพเจ้าแห่งลมตามความเชื่อของศาสนาชินโต และ ยามาตะ โนะ โอโรชิ (八岐の大蛇) จอมเทพอสูรในคราบงู 8 หัวร่างใหญ่ตามตำนานเทพปกรณัมของญี่ปุ่นโบราณ ทุกปีจะมีตัวแทนชายแต่งตัวเป็นเทพซุซาโนะโอะขึ้นนั่งบนหลังวัวดำแห่นำขบวนพาเหรดไปรอบๆ เมือง น่าแปลกที่ตัวแทนชายเหล่านั้นมักจะอยู่ในสภาพหมดสติ แตกต่างจากภาพลักษณ์กล้าหาญของเทพในตำนานที่สังหารอสูรร้าย และจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครรู้เหตุผลของการหมดสติเลย
2. Kokusekiji Sominsai
อีกหนึ่งเทศกาลเก่าแก่ที่จัดขึ้นสืบต่อกันมากว่า 1,000 ปี Kokusekiji Sominsai (黒石寺蘇民祭) เป็นเทศกาลเฉพาะของคุณผู้ชาย จัดขึ้นที่วัด Kokusekiji จังหวัดอิวาเตะในช่วงฤดูหนาว ปลายเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยชายที่จะเข้าร่วมต้องอาบน้ำเย็นกลางแจ้งเพื่อชำระล้างร่างกายให้สะอาด แต่งตัวด้วยผ้าคาดเอวหนึ่งผืนคล้ายซูโม่ท่ามกลางอากาศหนาวจัด แล้วก็แข่งขันกันแย่งชิงถุงโชคดี หรือ Sominsai ที่ซ่อนอยู่ภายในวัด เชื่อกันว่าผู้ชนะและได้รับถุงโชคดีนี้ชีวิตจะราบรื่น มีแต่ความสุข และผลผลิตเก็บเกี่ยวดี
3. Otatue Matsuri
ไฮไลท์ของเทศกาลปลูกข้าวอย่าง Otatue Matsuri (大山祇神社御田植祭) ประจำศาลเจ้าโอยามาสุมิ จังหวัดเอฮิเมะ อยู่ที่การแข่งขันซูโม่ ฟังดูอาจดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ใช่เลยจ้า เพราะการแข่งขันซูโม่ในเทศกาลนี้เขามีผู้ท้าชิงเป็นเทพเจ้า ถ้าปีไหนเทพเจ้าชนะ การเก็บเกี่ยวปีนั้นก็จะอุดมสมบูรณ์ แน่นอนว่าในระหว่างการแข่งขันเรามองไม่เห็นเทพเจ้าหรอก แต่มันสนุกตรงที่ได้นั่งลุ้นนักซูโม่ใช้ความพยายามต่อสู้สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตัวคนเดียว ซึ่งผลการแข่งขันที่ผ่านมาเทพเจ้าก็ชนะไปได้ 2 ครั้ง แพ้ 1 ครั้ง
4. Kanamara Matsuri
Kanamara Matsuri (かなまら祭り) หรือที่เรียกกันว่า เทศกาลแห่ลึงค์ เป็นศาสนพิธีในศาสนาชินโตที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก จัดขึ้นทุกๆ วันอาทิตย์แรกของเดือนเมษายน ที่ศาลเจ้าคานายามะ เมืองคาวาซากิ จังหวัดคานากาวะ ไฮไลท์สำคัญของงานอยู่ที่การแห่ปลัดขลิกขนาดใหญ่เพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งการสืบพันธุ์ที่สถิตย์อยู่ในศาลเจ้าคานายามะและขอพรให้คลอดบุตรง่าย มีชีวิตรักและครอบครัวที่สุขสงบร่มเย็น ปัจจุบัน นอกจากเพื่อการสืบทอดประเพณีทางศาสนาแล้ว เทศกาลแห่ลึงค์ยังจัดขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการท่องเที่ยวและนำรายได้เข้าร่วมสมทบทุนการวิจัยไวรัสเฮชไอวี
5. Paantu Punaha
เด็กๆ ในเมืองมิยาโกจิมะ จังหวัดโอกินาว่า เชื่อกันว่าเวลาพวกเขาทำตัวไม่ดี ปีศาจที่จะออกมาจับตัวพวกเขาไปก็คือ Paantu ปีศาจร้ายแสนน่ากลัว ที่มาของเทศกาล Paantu Punaha (パー ントゥ) เทศกาลขับไล่สิ่งชั่วร้ายประจำเมืองที่จะจัดขึ้นช่วงต้นเดือนกันยายน ทุกปีชายชาวเมืองจะต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ทำจากกิ่งไม้ใบหญ้า อาบโคลนทั้งตัว พร้อมสวมหน้ากากไม้ที่แกะสลักมาให้ดูน่ากลัวที่สุด แล้วออกเดินไปรอบๆ เมือง นำโคลนไปป้ายกับของใหม่ทุกสิ่งตั้งแต่บ้านใหม่ไปจนถึงเด็กแรกเกิด ทั้งนี้ก็เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายและนำสิ่งดีๆ มาให้นั่นเอง
1. Tounin Gyouji
เทศกาล Tounin Gyouji (統人行事) จัดขึ้นทุกวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปีบริเวณสะพานฮาชิเรียว จังหวัดอากิตะ เพื่อเฉลิมฉลองให้กับการต่อสู้ระหว่าง ซุซาโนะโอะ (須佐之男命) เทพเจ้าแห่งลมตามความเชื่อของศาสนาชินโต และ ยามาตะ โนะ โอโรชิ (八岐の大蛇) จอมเทพอสูรในคราบงู 8 หัวร่างใหญ่ตามตำนานเทพปกรณัมของญี่ปุ่นโบราณ ทุกปีจะมีตัวแทนชายแต่งตัวเป็นเทพซุซาโนะโอะขึ้นนั่งบนหลังวัวดำแห่นำขบวนพาเหรดไปรอบๆ เมือง น่าแปลกที่ตัวแทนชายเหล่านั้นมักจะอยู่ในสภาพหมดสติ แตกต่างจากภาพลักษณ์กล้าหาญของเทพในตำนานที่สังหารอสูรร้าย และจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครรู้เหตุผลของการหมดสติเลย
2. Kokusekiji Sominsai
อีกหนึ่งเทศกาลเก่าแก่ที่จัดขึ้นสืบต่อกันมากว่า 1,000 ปี Kokusekiji Sominsai (黒石寺蘇民祭) เป็นเทศกาลเฉพาะของคุณผู้ชาย จัดขึ้นที่วัด Kokusekiji จังหวัดอิวาเตะในช่วงฤดูหนาว ปลายเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยชายที่จะเข้าร่วมต้องอาบน้ำเย็นกลางแจ้งเพื่อชำระล้างร่างกายให้สะอาด แต่งตัวด้วยผ้าคาดเอวหนึ่งผืนคล้ายซูโม่ท่ามกลางอากาศหนาวจัด แล้วก็แข่งขันกันแย่งชิงถุงโชคดี หรือ Sominsai ที่ซ่อนอยู่ภายในวัด เชื่อกันว่าผู้ชนะและได้รับถุงโชคดีนี้ชีวิตจะราบรื่น มีแต่ความสุข และผลผลิตเก็บเกี่ยวดี
3. Otatue Matsuri
ไฮไลท์ของเทศกาลปลูกข้าวอย่าง Otatue Matsuri (大山祇神社御田植祭) ประจำศาลเจ้าโอยามาสุมิ จังหวัดเอฮิเมะ อยู่ที่การแข่งขันซูโม่ ฟังดูอาจดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ใช่เลยจ้า เพราะการแข่งขันซูโม่ในเทศกาลนี้เขามีผู้ท้าชิงเป็นเทพเจ้า ถ้าปีไหนเทพเจ้าชนะ การเก็บเกี่ยวปีนั้นก็จะอุดมสมบูรณ์ แน่นอนว่าในระหว่างการแข่งขันเรามองไม่เห็นเทพเจ้าหรอก แต่มันสนุกตรงที่ได้นั่งลุ้นนักซูโม่ใช้ความพยายามต่อสู้สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตัวคนเดียว ซึ่งผลการแข่งขันที่ผ่านมาเทพเจ้าก็ชนะไปได้ 2 ครั้ง แพ้ 1 ครั้ง
4. Kanamara Matsuri
Kanamara Matsuri (かなまら祭り) หรือที่เรียกกันว่า เทศกาลแห่ลึงค์ เป็นศาสนพิธีในศาสนาชินโตที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก จัดขึ้นทุกๆ วันอาทิตย์แรกของเดือนเมษายน ที่ศาลเจ้าคานายามะ เมืองคาวาซากิ จังหวัดคานากาวะ ไฮไลท์สำคัญของงานอยู่ที่การแห่ปลัดขลิกขนาดใหญ่เพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งการสืบพันธุ์ที่สถิตย์อยู่ในศาลเจ้าคานายามะและขอพรให้คลอดบุตรง่าย มีชีวิตรักและครอบครัวที่สุขสงบร่มเย็น ปัจจุบัน นอกจากเพื่อการสืบทอดประเพณีทางศาสนาแล้ว เทศกาลแห่ลึงค์ยังจัดขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการท่องเที่ยวและนำรายได้เข้าร่วมสมทบทุนการวิจัยไวรัสเฮชไอวี
5. Paantu Punaha
เด็กๆ ในเมืองมิยาโกจิมะ จังหวัดโอกินาว่า เชื่อกันว่าเวลาพวกเขาทำตัวไม่ดี ปีศาจที่จะออกมาจับตัวพวกเขาไปก็คือ Paantu ปีศาจร้ายแสนน่ากลัว ที่มาของเทศกาล Paantu Punaha (パー ントゥ) เทศกาลขับไล่สิ่งชั่วร้ายประจำเมืองที่จะจัดขึ้นช่วงต้นเดือนกันยายน ทุกปีชายชาวเมืองจะต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ทำจากกิ่งไม้ใบหญ้า อาบโคลนทั้งตัว พร้อมสวมหน้ากากไม้ที่แกะสลักมาให้ดูน่ากลัวที่สุด แล้วออกเดินไปรอบๆ เมือง นำโคลนไปป้ายกับของใหม่ทุกสิ่งตั้งแต่บ้านใหม่ไปจนถึงเด็กแรกเกิด ทั้งนี้ก็เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายและนำสิ่งดีๆ มาให้นั่นเอง